เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [3. ตติยวรรค] 9. ยถากัมมูปคตญาณกถา (29)
สก. บางคนไม่มีทิพยจักษุ ไม่ได้ ไม่บรรลุ ไม่ได้ทำให้แจ้งทิพยจักษุ แต่รู้ว่า
“สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมมีอยู่” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากบางคนไม่มีทิพยจักษุ ไม่ได้ ไม่บรรลุ ไม่ทำให้แจ้งทิพยจักษุ แต่รู้
ว่า “สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมมีอยู่” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ยถากัมมูปคตญาณ
เป็นทิพยจักษุ”
สก. ยถากัมมูปคตญาณเป็นทิพยจักษุใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านพระสารีบุตรรู้ยถากัมมูปคตญาณใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากท่านพระสารีบุตรรู้ยถากัมมูปคตญาณ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“ยถากัมมูปคตญาณเป็นทิพยจักษุ”
สก. ยถากัมมูปคตญาณเป็นทิพยจักษุใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านพระสารีบุตรรู้ยถากัมมูปคตญาณใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านพระสารีบุตรมีทิพยจักษุใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ท่านพระสารีบุตรมีทิพยจักษุใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่ว่า “ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวไว้ดังนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :381 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [3. ตติยวรรค] 10. สังวรกถา (30)
เราไม่ได้ตั้งความปรารถนาไว้เพื่อปุพเพนิวาสญาณ1
ทิพพจักขุญาณ2 เจโตปริยญาณ3 อิทธิวิธญาณ4
ทิพพโสตญาณ5 และจุตูปปาตญาณ”6
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ยถากัมมูปคตญาณเป็นทิพยจักษุ”
ยถากัมมูปคตญาณกถา จบ

10. สังวรกถา (30)
ว่าด้วยความสำรวม
[379] สก. ความสำรวม7มีอยู่ในหมู่เทวดา8 ใช่ไหม
ปร.9 ใช่
สก. ความไม่สำรวมมีอยู่ในหมู่เทวดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความไม่สำรวมไม่มีในหมู่เทวดาใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
1 ปุพเพนิวาสญาณ หมายถึงปรีชาหยั่งรู้ถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนทั้งของตนและของผู้อื่นได้ (ขุ.เถร.อ.
2/996/443)
2-6 ทิพพจักขุญาณ หมายถึงญาณให้มีตาทิพย์
เจโตปริยญาณ หมายถึงปรีชากำหนดรู้ใจผู้อื่นได้
อิทธิวิธญาณ หมายถึงญาณที่ทำให้แสดงฤทธิ์ได้ต่างๆ
ทิพพโสตญาณ หมายถึงญาณพิเศษที่ทำให้มีหูทิพย์
จุตูปปาตญาณ หมายถึงปรีชาหยั่งรู้จุติและปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลาย (ดูเทียบ ขุ.เถร. (แปล)
26/996/396,ขุ.เถร.อ. 2/996/503)
7 ความสำรวม หมายถึงเจตนาระวังมิให้ล่วงละเมิดศีล 5 มีปาณาติบาตเป็นต้น แต่ฝ่ายปรวาทีเข้าใจผิดว่า
การไม่ล่วงละเมิด ศีล 5 เป็นสังวร (อภิ.ปญฺจ.อ. 379/199)
8 หมู่เทวดา ในที่นี้หมายถึงเทวดาชั้นดาวดึงส์ขึ้นไป (อภิ.ปญฺจ.อ. 379/199, มูลฏีกา 3/84, อนุฏีกา
3/129-130)
9 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ และนิกายสมิติยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 373/196)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :382 }